Category Archives: Arduino

Sticky Post

เลิกใช้ Delay แบบไร้สาระกันเสียทีเถอะ

แนะนำกันก่อน เรื่องนี้เริ่มต้นจากการสังเกตปัญหายอดนิยมในการพัฒนาโปรแกรมบน Arduino หรือผู้เริ่มต้นเรียนรู้การพัฒนาโปรแกรมบนภาษาอื่นๆ เช่น C หรือ Python ที่มักจะมีการใช้ฟังก์ชันในการรอเวลา (Time Delay) ไม่ว่าจะเป็นการรอเวลาเพื่อตอบกลับการร้องขอ การรอเวลาให้ระบบปลายทางพร้อมทำงาน หรือการรอให้ครบกำหนดเวลาในการทำงาน เป็นต้นซึ่งการรอเวลานั้นมีความจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมอยู่มาก เพราะระบบจะทำงานได้ดี มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันอยู่ ทำงานประสานกันได้ดี แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าหากในระบบมีการรอเวลากันอย่างมากมาย ก็จะกระทบกับการทำงานของระบบเช่นกัน ทั้งทำให้ระบบทำงานได้ช้า ตอบสนองช้า และความล่าช้านี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหากับเสถียรภาพในการทำงานของระบบโดยรวมด้วย ดังนั้นแล้วการใช้ฟังก์ชันเพื่อรอเวลานั้น มีข้อควรระวังในการใช้งานอยู่ไม่น้อย แต่การที่เราจะเลี่ยงไม่ใช้ฟังก์ชันรอเวลาพวกนี้ มันไม่ได้ง่ายเลย มันจะต้องเริ่มต้นด้วยการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ เพื่อทำให้ระบบที่เราพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้ ดังนั้นในบทความนี้จะแนะนำแนวคิดในการพัฒนาโปรแกรมที่ลดการใช้ฟังก์ชันรอเวลาเหล่านี้ลงกัน เริ่มต้นด้วยไฟกระพริบ ในบทความตอนนี้จะพัฒนาไฟกระพริบด้วยโปรแกรม Arduino โดยใช้บอร์ด ESP32 DOIT-Devkit-V1 ในการพัฒนา และจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ ไฟกระพริบปกติ ที่ใช้ Delay โดยจะติด

True NB-IoT Arduino Sheild with Arduino Uno

True NB-IoT board ส่งข้อมูลไป InfluxDB ด้วย UDP

ในการทำ IoT (Internet of Things) แน่นอนว่าสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ ซึ่ง NB-IoT หรือ Narrowband IoT ก็เป็นเครื่อข่ายสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะใช้พลังงานน้อยและใช้เครือข่ายเดียวกับเซลลูลาร์ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกล ในไทยมีเปิดตัวมาสองเจ้าคือ AIS กับ True ซึ่งของ True เราเพิ่งได้บอร์ดมาถึงมือ มาลองดูกันว่ายังไง เปิดกล่องมาก็จะประกอบไปด้วย True NB-IoT Arduino Shield Antenna NB-IoT Sim (อยู่ใน socket sim ที่ติดมากับบอร์ด Shield แล้ว) บอร์ดใช้โมดูล Quectel BC95-B8   ความถี่ 900 Hz  ในระบบเครือข่าย LTE Cat.