Tag Archives: orange pi

< Orange Pi > USB Wifi Dongle ใช้งานได้สักที

เมื่อหลายเดือนก่อน ได้ USB Wifi Dongle มาในราคาที่ถูกมาก เพื่อใช้กับ Raspberry Pi ดังที่เขียนไปในตอน [ Raspberry Pi ] การใช้งานกับ LB-Link Wireless USB Adapter  แต่เมื่อเอามาลองใช้กับ Armbian บน Orange Pi แล้ว กลับพบปัญหามากมาย ทั้งในส่วนการที่ Driver จาก Realtek ที่ไม่รองรับ (เข้าใจว่าปัญหานี้มาจากส่วนของ CPU H3 เอง ทำให้ Firmware ของ Realtek นั้นไม่สามารถใช้งานได้) และในส่วนของ Network Management ของ Armbian

< Orange Pi > ไฟกระพริบต้องมี สวิตส์กดๆต้องมา ด้วยภาษา Python [2]

ในตอนที่แล้ว เราได้แนะนำให้รู้จัก และวิธีการติดตั้ง Library ของ Python ที่ชื่อ WiringPi-Python-OP กันไปแล้ว ในตอนนี้ เราจะมาเริ่มต้นใช้งาน Library ตัวนี้กัน ด้วยการเขียนโปรแกรมควบคุม LED ผ่านสวิตซ์ แบบง่ายๆ ก่อนอื่นเลย เราคงต้องเตรียมวงจรที่จะใช้ทดสอบเสียก่อน โดยจะใช้ I/O pin ที่ 0-7 เป็น Output และ 8-15 เป็น Input วงจร Input นั้นเป็นแบบ Active Low ดังนั้นสถานะปกติจะเป็น 1 เสมอ และวงจร Output จะเป็นแบบ Active Low นั่นคือ ไฟจะติดสว่างเมื่อเราสั่งให้

< Orange Pi > ไฟกระพริบต้องมี สวิตส์กดๆต้องมา ด้วยภาษา Python [1]

Orange Pi One ที่ใช้อยู่นั้น บนบอร์ดจะมี I/O Pin อยู่ทั้งหมด 40 ขา โดย 40 ขานี้ จะตรงกับ I/O Pin 40 ขาของ Raspberry Pi ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ extension board ของ Raspberry Pi ซึ่งมีอยู่มากมายได้เช่นกัน เพียงแต่เงื่อนไขสำคัญของการใช้งาน I/O ต่างๆนั้น ขึ้นอยู่กับ Library ของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนา ในตอนนี้เราจะขอแนะนำให้รู้จัก Library สำหรับใช้งาน I/O ต่างๆ ผ่าน ภาษา Python ซึ่งน่าใช้งานมากๆเนื่องจากได้รูปแบบมาจาก WiringPi ของ Raspberry

< Orange Pi > Sysbench เครื่องมือ benchmark ของ Embedded Linux [2]

ในบทความ “Sysbench เครื่องมือ benchmark ของ Embedded Linux” เราได้แนะนำ และทดลองใช้งาน โปรแกรม Sysbench โดยการวัดประสิทธิภาพของ CPU รวมถึงการแนะนำฟังค์ชั่นอื่นๆของ Sysbench ไปบ้างแล้ว ในคราวนี้ เราจะมาแนะนำฟังค์ชั่นเพิ่มเติมอีก 2 ฟังค์ชั่น นั่นคือการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานในระบบฐานข้อมูล และการทำงานในด้านการอ่านเขียนข้อมูลลงบน Flash Memory ก่อนที่จะสามารถทดสอบระบบฐานข้อมูล ได้นั้น เราต้องติดตั้ง ระบบจัดการฐานข้อมูล เสียก่อน โดยในที่นี้ผมเลือกที่จะติดตั้ง MariaDB แทนที่จะเป็น MySQL ซึ่ง MariaDB สามารถใช้แทน MySQL ได้อย่างไม่มีปัญหาด้านความเข้ากันได้ของระบบ หากยังไม่ได้ติดตั้ง MariaDB ก็สามารถติดตั้งตามบทความในหัวข้อ “< Orange Pi > แมวน้ำก็มา!

Installation Maria DB on Armbian

< Orange Pi > แมวน้ำก็มา! Armbian ก็รองรับ MariaDB นะ

MariaDB คืออะไร? MariaDB เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบเปิดเผยซอร์สโคดตัวหนึ่ง (Open Source Relational Databased) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถทำงานทดแทนตัวจัดการฐานข้อมูลที่ชื่อว่า MySQL ได้โดยไม่ต้องจัดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ในแบบที่เรียกได้ว่าใช้แทนกันได้เลย ซึ่งผู้พัฒนา MariaDB นี้ก็เป็นกลุ่มเดียวกับที่พัฒนา MySQL (ในรูปแบบ Open Source เช่นเดียวกัน) ก่อนหน้านี้ และในเวลาต่อมาบริษัทผู้พัฒนานี้ ก็ถูกปลาทูน่าอย่างบริษัทซันไมโครซิสเทมส์ กินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง แต่ MySQL นั้นก็ยังสามารถคงนโยบาย และแนวทางการพัฒนา MySQL ไว้ได้อยู่เช่นเดิม แต่ในเวลาต่อมาปลาฉลามอย่าง บริษัทออราเคิล ก็เข้ามาซื้อกิจการของบริษัท ซัน ไมโครซิสเทมส์ ต่ออีกที ทำให้ MySQL นั้น ถูกย้ายไปเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท ออราเคิล เหมือนที่ ภาษา JAVA ก็กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของออราเคิล

< Orange Pi > Sysbench เครื่องมือ benchmark ของ Embedded Linux

ในระบบ Linux Embedded นั้นมี Single Board Computer ให้เลือกใช้อย่างหลากหลายมากๆ แบบที่ทางฝั่ง PC ไม่สามารถเทียบเคียงได้เลย ถึงแม้ว่า CPU นั้นจะยังคงอยู่บนสถาปัตยกรรม ARM RISC เช่นกัน แต่ด้วยความที่มีผู้ผลิตหลายเจ้า ซึ่งแต่ละเจ้านั้น ก็มีเทคโนโลยีบางอย่างของตนเอง ที่พร้อมจะใส่เข้ามาใน CPU ของตนเองเพื่อทำให้ CPU ของตนเองนั้นมีความพิเศษมากกว่าคู่แข่ง และ CPU แบบ ARM นี้ไม่ได้ใช้ BIOS เป็นส่วนในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ต่างๆ เหมือนกับ PC นั่นยิ่งทำให้ แต่ละเจ้ายิ่งมีความแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก เพราะนอกจากฟังค์ชั่นพิเศษที่ทางผู้ผลิตจะเพิ่มเข้ามาเองแล้ว ยังมีระบบที่ใช้ในการติดต่อกับระบบอื่นๆ ตามมาตรฐานของตนเองอีกด้วย