หรือไม่มีการอ้อนวอนใด สามารถจุดประกายความคิดได้

“ผลไม้ต้องห้าม : เศรษฐศาสตร์การเมืองของ วิทยาศาสตร์ ศาสนา และการเติบโต”

ประเทศที่จริงจังในการนับถือศาสนา ( อาจจะไม่ใช่รัฐศาสนา ) จะมีแนวโน้มในการสร้างนวัตกรรมน้อยลง อ้างอิงจากเอกสารที่ชื่อ “ผลไม้ต้องห้าม : เศรษฐศาสตร์การเมืองของ วิทยาศาสตร์ ศาสนา และการเติบโต” ( “Forbidden Fruits: The Political Economy of Science, Religion, and Growth” ) ที่ถูกเผยแพร่โดย สำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ( America’s National Bureau of Economic Research : NBER ) Roland Benabou จาก Princeton, Davide Ticche และ Andrea Vindigni จาก IMT Institute for Advanced Studies Lucca ได้ค้นพบความสัมพันธ์เชิงลบที่ค่อนข้างชัดเจน ระหว่างการพัฒนานวัตกรรม โดยวัดที่ปริมาณสิทธิบัตร กับความจริงจังในการนับถือศาสนา ซึ่งวัดจากปริมาณประชากรที่ระบุว่าตนเองนับถือศาสนา ( ดังนั้นจึงไม่อาจบอกได้ว่า รัฐๆนั้นเป็นรัฐศาสนาได้ เพราะบางรัฐแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะระบุว่าตนนักถือศาสนาอะไร แต่ในรัฐนั้นอาจจะไม่ได้ศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงศาสนาเดียวในรัฐนั้น ) สิ่งที่ Roland Benabou สนใจคือความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของความเชื่อของคน ต่อระบบเศรษฐศาสตร์ ซึ่งแนวคิดนี้จะทำให้เราสามารถเชื่อมโยง เรื่องของความเชื่อกับกลุ่มคน และความเชื่อของพวกเขา ( Capital B – หมายถึง B ใหญ่ ซึ่งแต่เดิมแทนชาวผิวดำ ( Black ) โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นคนเชื่อชาติใด จึงไม่แน่ใจว่าคำๆ นี้ผู้พูดจะกล่าวถึงอะไร เลยคาดเดาว่าน่าจะหมายถึงกลุ่มชนต่างๆ ที่มีการแบ่งแยกตามพื้นที่ หรือเชื้อชาติมากกว่า )

ข้อมูลที่ได้รับการสรุปจากข้อมูลในรายงานของ NBER โดย The Data Team ของ The Economist

ผู้เขียนบทความไม่ได้ฟันธงว่าความเชื่อ และความศรัทธาทางศาสนานั้น มีการขัดขวางการเติบโตของนวัตกรรม แต่สมมติฐานของผู้เขียนนั้นเป็นเรื่องของรูปแบบของรัฐ ซึ่งผู้นำมีความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า ทำให้สถาบันทางศาสนามีอิทธิพลต่อทิศทางการปกครองมากขึ้น และอาจจะกลายเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดนโยบายสาธารณะที่มีลักษณะต่อต้านกระบวนการวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การมีนโยบายห้ามการพิมพ์ในจักรวรรดิอ๊อตโตมัน หรือการตัดสินใจที่ย้อนแย้งกันของอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ในการจำกัด การระดมทุนของรัฐบาลกลางในการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิด

แต่ถึงแม้ว่าในภายหลังจะมีการคำนึงถึงข้อจำกัดเหล่านี้แล้ว แต่การดำรงอยู่ของอเมริกาก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทฤษฏีนี้ไม่สามารถอธิบายได้อยู่ดี ในปัจจุบันหนึ่งในห้าของ GDP บนโลกนี้ล้วนมาจากประเทศที่มีทั้งการคงอยู่ของศาสนา และการสรรค์สร้างนวัตกรรม และถึงแม้ว่าการคงอยู่ของศาสนาจะมีส่วนทำให้การพัฒนานวัตกรรมลดลงจริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบมากมายนัก เพราะความเชื่อที่มีเหตุผลที่ดี ก็สามารถสร้างมูลค่า และสนับสนุนศักยภาพการพัฒนาทางสังคมได้อย่างคุ้มค่าเช่นกัน

ในบทสรุปของทีมวิจัยยังระบุว่า แผนถัดไปของพวกเขาคือการศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด และทัศนคติที่แตกต่างของแต่ศาสนา แต่ละนิกาย เพื่อเข้าใจในสาเหตุของกลไกต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่เปิดกว้าง และต้องได้รับศึกษาและติดตามต่อไป

แปลจาก

http://www.economist.com/blogs/graphicdetail/2015/05/daily-chart-3?fsrc=scn/fb/te/bl/ed/noinspirationfromabove

รายงานวิจัย

http://www.nber.org/papers/w21052