ล็อกฮีด โชว์ต้นแบบ F-16 ที่สามารถปฏิบัติการได้อัตโนมัติ

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และบริษัท ล็อกฮีด มาร์ติน ผู้ด้านเทคโนโลยีการบินและการทหารรายใหญ่ของโลก ได้จัดสาธิตการปฏิบัติภาระกิจแบบอัตโนมัติ ของเครื่องบินรบ F-16 โดยภารกิจถูกออกแบบให้สถานการณ์คล้ายกับการเข้าโจมตีด้วยอาวุธอากาศสู่พื้นดินและมีการต่อต้าน เพื่อทดสอบการตอบสนองในสถานการณ์ที่ถูกโจมตีหรือต่อต้าน

การสาธิตปฏิบัติการนี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยในภารกิจเครื่องจะต้องบรรลุจุดประสงค์ 3 ประการ คือ
1. มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากร ( ข้อมูลต่างๆ รอบตัว ) และจัดลำดับความสำคัญ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจโจมตีอากาศสู่พื้นดินได้สำเร็จ
2. มีความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนการตอบโต้ เพื่อตอบสนองการถูกคุกคามที่เปลี่ยนไป พร้อมๆกับการบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดการล้มเหลวขึ้น เช่นการขาดการติดต่อสื่อสารหรือการออกนอกเส้นทาง
3. การดูแลรักษาซอฟต์แวร์ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด Open Mission Systems ( OMS )** และได้รับการรับรองอย่างเต็มรูปแบบโดยกองทัพอากาศสหรัฐ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าซอฟต์แวร์นั้นจะสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้ และรองรับการพัฒนาร่วมกันจากหลายผู้ผลิตในอนาคต

การสาธิตครั้งแรกนี้เน้นไปที่การแสดงระบบควบคุมอากาศยานชั้นสูง โดยเริ่มต้นที่ เครื่อง F-16 ตัวทดลองนี้จะขึ้นบินตามเครื่องผู้ฝูงอัตโนมัติ โดยเป็นการบินแบบกลุ่มตามรูปแบบ จากนั้นต่อมา เครื่อง F-16 ตัวทดลองจะเข้าโจมตีภาคพื้นตามภารกิจ เมื่อการโจมตีสำเร็จ เครื่องก็จะกลับเข้าฝูงอีกครั้ง โดยตลอดภารกิจระบบป้องกันการปะทะกันของล็อกฮีด จะทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องทุกเครื่องอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย

รูปโฉมของสงครามในอนาคต

ในอนาคตเครื่องจักรกลอัตโนมัติกำลังก้าวขึ้นมาครอบครองน่านฟ้าและควบคุมรูปแบบสงครามทางอากาศ เทคโนโลยีรูปแบบนี้ ทั้งเครื่องจักรกลไร้คนขับหรือแม้แต่เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ล้วนถูกพัฒนาโดยหวังว่าจะลดการสูญเสียของชีวิตมนุษย์ในสนามรบลงได้ เครื่องจักรกลเหล่านี้สามารถปฏิบัติภารกิจที่มีความอันตรายสูง ซึ่งเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมากหากใช้มนุษย์ในการปฏิบัติงาน และเครื่องจักรกลเหล่านี้ยังมีการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่รวดเร็วกว่ามนุษย์ เครื่องจักรกลเหล่านี้ไม่เคยล้า ไม่เคยเครียด และทำให้มนุษย์หันกลับมาใส่ใจในเรื่องของยุทธวิธีการรบที่มีประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เครื่องจักรกลเหล่านี้ ยังช่วยลดภาระงานของทหาร และเจ้าหน้าที่ต่างๆอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม… สตีเฟน ฮอว์คิงและอีลอน มัสก์ได้เคยเตือนเราถึงเรื่องอันตรายจากการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อใช้ทางการทหารว่า เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง จากอันตรายที่เกิดจากเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่มีศักยภาพในการทำลายล้างมหาศาลเป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ อย่างเช่นการทดสอบ การปฏิบัติภารกิจอัตโนมัตของ F-16 ในครั้งนี้ มันอาจจะแสดงถึงการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของสงคราม…

**Open Mission Systems ( OMS ) – เป็นแฟลตฟอร์มที่ถูกออกแบบโดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เพื่อวางมาตรฐาน และข้อกำหนดสำหรับอุปกรณ์ที่จะถูกนำมาเชื่อมต่อในระบบ ที่ใช้อยู่ในกองทัพอากาศ ทำให้การจัดซื้อ และการจัดระบบซ่อมแซมของกองทัพ ทำได้ง่าย มีราคาถูกลง และยังคงประสิทธิภาพสูงสุดไว้ได้ รวมทั้งยังส่งผลดีต่อคู่ค้าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ต้องแบกภาระค่างใช้จ่ายในการวางระบบทั้งหมดเพียงลำพัง เนื่องจากแฟลตฟอร์มนี้จะเป็นระบบกลาง ที่เมื่ออุปกรณ์ผ่านการรับรองแล้ว อุปกรณ์นั้นจะสามารถทำงานร่วมไประบบที่มีอุปกรณ์อื่นๆอยู่ร่วมได้ ซึ่งจะทำให้ทุกๆผู้ผลิตสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมากระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ได้นำไปพัฒนาเป็น Open System Architecture ( OSA ) ในปี 2014

อ้างอิง

The Military Just Demoed an F-16 That Flies and Executes Strikes by Itself

OSA – http://sigada.org/conf/hilt2016/paper-Tokar.pdf