< Orange Pi > เตรียมตัว และติดตั้งโปรแกรมเบื้องต้นบน Armbian

โปรแกรมน่าสนใจ ที่จะมาแนะนำให้ชาวสวนส้มจี๊ด ลงไว้ใช้งานกันมีดังนี้ครับ

  1. Geany Geany เป็น Python Editor ที่ใช้งานง่าย รองรับการรันคำสั่งผ่าน Shell Command ในตัวเลย ไม่ต้องสลับไปพิมพ์ตำสั่งรันใน Terminal ให้ยุ่งยาก และเป็นโปรแกรม ตัวเล็กๆ ที่ติดตั้ง อัพเดท ใช้งานได้ง่ายมากๆ
  2. Armbian Monitor – เป็นโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังของระบบ ซึ่งโปรแกรมนี้ จะทำให้เราสามารถ ติดตามสถานการณ์ทำงานของ Orange Pi One ได้ผ่านหน้าเว็บเบราเซอร์ และยังมีการเก็บบันทึกไว้ ให้เราดูสถานะในช่วงเวลาที่ผ่านได้อีกด้วย เหมาะสมมากสำหรับการใช้งานที่ Orange Pi One ต้องมีการทำงานที่ยาวนาน
  3. Sysbench เป็นโปรแกรม Benchmark ที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ Orange Pi One ในด้านต่างๆ รวมถึงการทดสอบเสถียรภาพของ Orange Pi One หากต้องมีการใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆอีกด้วย
  4. WiringPi-Python-OP – เป็นชุด Library สำหรับพัฒนา ในการเชื่อมต่อ I/O ต่างๆ ผ่านภาษา Python
    ด้วยการใช้งานคำสั่งง่ายๆ มี Library อุปกรณ์ มากมายให้ใช้งาน

นอกจากนี้ยังต้องมีการตั้งค่าอื่นๆ ที่จำเป็นของ Armbian เพื่อให้การใช้งานทำได้อย่างถูกต้อง เช่นฐานเวลา และ Time Zone ต่างๆ ซึ่งก็จะกล่าวถึงในนี้เช่นกัน

แต่โปรแกรมทั้งหมดในตอนนี้นั้น เราต้องทำการติดตั้ง และตั้งค่าผ่าน Terminal ซึ่งผมเลือกใช้โปรแกรม Xfce Terminal (ที่จริงก็ไม่ได้เลือกอะไรหรอกนะครับ แค่มันมีมาให้อยู่แล้วเท่านั้นเอง) ซึ่งเป็นระบบติดต่อกับผู้ใช้งานผ่านทางข้อความ โดยเข้าไปที่ Application-> System -> Xfce TerminalOPIPP01

เมื่อเปิดโปรแกรม Xfce Terminal ขึ้นมาก็จะเป็นดังภาพ

OPIPP02

เรามาเริ่มต้นกันที่ การตั้งค่าความสามารถในการเข้าถึงของ User ของเราก่อน

ในที่นี้ชื่อของ User ของเราคือ usr0

โดยนโยบายของลินิกส์ ในด้านการจัดการบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อเข้าถึงทรัพยากรต่างๆของระบบนั้น
แต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่งจะมีเพียงสมาชิกในกลุ่มเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใช้งานทรัพยากรนั้นๆได้

เราสามารถดูได้ว่าในเครื่องของเรานั้น มีกลุ่มใดๆอยุ่แล้วบ้าง โดยใช้คำสั่ง ->#cat /etc/group

แต่จะต้องเรียกผ่าน root ด้วย ดังนั้นแล้วเราจึงจำเป็นที่จะต้องใช้คำสั่ง ->#sudo ด้วย

ดังนั้นแล้ว คำสั่งที่ได้จะเป็น ->#sudo cat /etc/group

แล้วระบบก็จะถามรหัสผ่านของ root หลังจากที่ใส่รหัสผ่านที่ถูกต้องแล้ว

ระบบก็จะแสดงรายชื่อกลุ่มที่มีอยู่ให้กับเรา

OPIPP03

กลุ่มที่มี usr0 เป็นสมาชิกอยู่ จะมี ‘usr0’ ต่อท้ายกลุ่ม เช่น video:x:44:usr0

ขั้นตอนต่อมาคือการเพิ่มบัญชี usr0 ของเราให้เป็นสมาชิกของหลายๆกลุ่ม เพื่อใช้งาน

โดยในตอนนี้เราต้องการเพิ่ม usr0 เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มดังต่อไปนี้

กลุ่ม root

กลุ่ม sys

และกลุ่ม adm

โดยใช้คำสั่ง adduser <ชื่อ user> <ชื่อกลุ่ม> แต่เราต้องทำผ่าน root เช่นเดิม
ดังนั้นจึงต้องใช้คำสั่ง
sudo ด้วย เช่น กลุ่ม root -># sudo adduser usr0 root

จากนั้นระบบจะถามรหัสผ่าน root หากเราใส่รหัสผ่านได้ถูกต้อง

ระบบก็จะแจ้งให้ทราบว่า usr0 จะเป็นสมาชิกของ root แล้ว

OPIPP04

และในกลุ่มของ adm และ sys ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ได้

หากจัดการบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบดูอีกครั้งว่า ระบบได้ใส่บัญชี user ของเราเข้าไปหรือยัง
โดยใช้คำสั่ง
->#sudo cat /etc/group

OPIPP05

จากในภาพจะเห็นว่า usr0 ได้เป็นสมาชิกของ root , sys และ adm เรียบร้อยแล้ว