True NB-IoT Arduino Sheild with Arduino Uno

True NB-IoT board ส่งข้อมูลไป InfluxDB ด้วย UDP

ในการทำ IoT (Internet of Things) แน่นอนว่าสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ ซึ่ง NB-IoT หรือ Narrowband IoT ก็เป็นเครื่อข่ายสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะใช้พลังงานน้อยและใช้เครือข่ายเดียวกับเซลลูลาร์ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกล ในไทยมีเปิดตัวมาสองเจ้าคือ AIS กับ True ซึ่งของ True เราเพิ่งได้บอร์ดมาถึงมือ มาลองดูกันว่ายังไง เปิดกล่องมาก็จะประกอบไปด้วย True NB-IoT Arduino Shield Antenna NB-IoT Sim (อยู่ใน socket sim ที่ติดมากับบอร์ด Shield แล้ว) บอร์ดใช้โมดูล Quectel BC95-B8   ความถี่ 900 Hz  ในระบบเครือข่าย LTE Cat.

เครื่องมือ ที่จะทำให้อนาคตประเทศอยู่ในกำมือคุณ ผ่านการเลือกตั้ง และพระประสงค์ของพระเจ้า

เช้านี้มีแฮชแท็กหนึ่งโผล่ขึ้นมา นั่นคือ #CambridgeAnalyticaUncovered แฮชแท็กนี่มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจมาก มันมาจากวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ผ่านช่องข่าวของ Channel 4 ของอังกฤษ โดยผู้ที่บันทึกได้ปกปิดตัวตน (Undercover) ขณะที่กำลังเจรจากับบุคคลจากบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ชื่อ “Cambridge Analytica”

ติดตั้ง Platform IO IDE บน VSCode

***ในบทความนี้ติดตั้ง Platform IO  ใน Visual Studio Code บน Windows 10 นะคะ*** Platform IO เป็นระบบโอเพนซอร์สใช้สำหรับพัฒนา IoT รองรับการพัฒนาอุปกรณ์ Embeded ที่หลากหลาย ทั้ง Arduino, ESP, STM ฯลฯ เขาว่ารองรับ embedded boards ได้ 400 กว่าแบบแน่ะ สามารถติดตั้งใช้งานในแบบ CLI หรือจะใช้งานร่วมกับ IDE อย่าง Atom หรือ VS Code การติดตั้ง PIO IDE Python ***ต้องเป็น python 2.7.6

[Chip Hall of Fame] ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของวงการถ่ายภาพ Image Sensor ตัวแรก KODAK : KAF-1300

ในประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมและการประดิษฐ์มีงานพัฒนามากมายที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญก่อกำเนิดจากมุมมองและแนวคิด ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจากนักประดิษฐ์ที่ทำงานให้กับองค์กรยักษ์ใหญ่ หากมองจากวันนี้องค์กรนั้นควรจะกลายเป็นเสือติดปีกได้ แต่มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป และนี่ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งกับเรื่องราวของเซ็นเซอร์ภาพที่วางจำหน่ายตัวแรกของโลก โดยบริษัทผลิตกล้องยักษ์ใหญ่อย่าง KODAK เรากำลังจะเล่าถึง KAF-1300 Image Sensor ครับ เจ้าพ่อยักษ์ใหญ่แห่งวงการกล้องอย่าง KODAK ให้ความสนใจในการพัฒนาเซ็นเซอร์ดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพมานานแล้ว โดยคงต้องย้อนไปถึงปี 1975 Steven Sasson  วิศวกรของ KODAK ได้พัฒนากล้องดิจิตอลตัวแรกออกมา โดยใช้เซ็นเซอร์ CCD 100×100 พิกเซลจาก Fairchild Semiconductor นั่นคือกล้องดิจิตอลตัวแรกของโลกและพัฒนาต่อมาจนในปี 1986 KODAK ก็สามารถพัฒนาเซ็นเซอร์ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซลได้สำเร็จ แต่กว่าจะกลายมาเป็นกล้องดิจิตอลตัวแรกได้ ก็ต้องรอไปถึงปี 1991 KODAK จึงสามารถปล่อย KODAK DCS ( KODAK DCS-100 )

[Chip Hall of Fame] เทคโนโลยีที่ปฏิวัติคอมพิวเตอร์ไปสู่อุปกรณ์พกพา Toshiba NAND Flash Memory

ครั้งหนึ่งการที่คอมพิวเตอร์เริ่มมีหน่วยความจำ ( Stored-Program Computer ) จากทฤษฏีและแนวคิดในการสร้าง Universal Turing Machine ของอลัน ทัวริง ( Alan Turing ) และต่อมาถูกพัฒนาจนกลายเป็น  von Neumann Architecture และ Harvard Architecture ** ที่ได้วางรากฐานมาจนถึงปัจจุบันนั้น เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถขยายศักยภาพไปสู่การทำงานในส่วนอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลยุคนั้นมีทั้งแรกเริ่มตั้งแต่การใช้กระดาษเจาะรูในช่วงแรกและยุคที่ใช้เทปแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล ซึ่งยาวนานตั้งแต่ทศวรรษที่ 30 ไปจนช่วงทศวรรษที่ 80 ตลอดเวลานั้นแม้ว่าจะมีการพัฒนาเพื่อลดขนาดทางกายภาพ และเพิ่มความจุในการเก็บข้อมูลมากแค่ไหน มันก็ยังคงกินพื้นที่อย่างมหาศาล แถมด้วยข้อจำกัดทางกลไก มันยังช้ามากอีกด้วย อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้แม่เหล็กที่ดีที่สุดคือ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ( Hard Disk Drive – HDD ) ที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษที่

แกะกล่อง DOIT ESP32 DEVKIT V1 และ PINOUT

ก่อนหน้านี้เราเคยมีโปรเจคเล็กๆน้อยๆ กับ NodeMCU  V2 ซึ่งเป็น ESP8266 ด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้างเรื่องความสามารถของ ESP32 ที่พัฒนาความสามารถเพิ่มมาแก้จุดด้อยของ ESP8266 ทั้งรองรับการเชื่อมต่อแบบ Hybrid ทั้ง WiFi และ Bluetooth มีพอร์ตรองรับ I/O ได้เพิ่มขึ้น รองรับ touch sensor มี hardware เข้ารหัสสำหรับ HTTPS และอีกมามาย ชาวบ้านเค้าพูดถึงกันไปหมดละ อยากรู้รายละเอียดลองค้นๆ ดูแล้วกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าไปแล้วและราคาที่ไม่แพง รอบนี้เลยได้ ESP32 Development Board มาจากเถาเป่า ชื่อเต็มคือ DOIT ESP32 DevKit V1  ใช้โมดูล ESP-WROOM-32 นี่เพิ่งซื้อมายังไม่มีโปรเจคเป็นชิ้นเป็นอันว่าจะทำอะไร แต่ซื้อมาแล้วก็ต้องลองก่อนสิเนอะ อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมของ DOIT